วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551

ศิลปะอยุธยาตอนต้น

ศิลปะอยุธยาตอนต้น อาณาจักรอยุธยาถูกสถาปนาขึ้น โดยพระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์ซึ่งเสด็จมาจากที่อื่น พระราช พงศาวดาร กล่าวไว้ว่าพระองค์เสด็จมา จากเมืองเทพนคร ซึ่งอยู่ใต้เมืองไตรยตรึงส์ ใกล้กับ กำแพงเพชร พระองค์ ตั้งพระตำหนักครั้งแรกที่ ตำบลเวียงเหล็ก ภายในอาณาเขตของเมืองปะทาคูจาม อันอยู่ทางทิศใต้ ของ ตัวเกาะคนละฝั่งแม่น้ำ หลังจากสถาปนาพระนคร เวียงวังบริบูรณ์ แล้วจึงเสด็จเข้าไปประทับ อยู่ยัง เมืองใหม่ อันมีนามเต็มว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยาฯ สมัยนั้นภูมิประเทศ ของ กรุงศรีอยุะยาบริเวณรอบนอกตัวเกาะเต็มไปด้วยที่ลุ่มแม่น้ำและ ลำคลอง เพราะกรุงศรีอยุธยาเป็น จุดรวมของสายน้ำสำคัญหลายสาย ที่ไหลมาจากทิศเหนือ ตรงหน้าป้อมมหาชัย ซึ่งเดี๋ยวนี้เรียกว่า หัวรอ เป็นที่ลำน้ำใหญ่มา บรรจบกัน ถึงสามสาย คือลำน้ำป่าสัก ลำน้ำลพบุรี และลำน้ำบางขวด ด้านทิศตะวันออกมีลำคลองใหญ่ มา จาก อำเภออุทัย ทางทิศเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาโอบตัว เกาะใหญ่ ตั้งแต่บ้านแหลม อันเป็นที่เริ่มต้นของ คูเมืองหรือลำน้ำลพบุรีเดิม แม่น้ำเจ้าพระยาแยก ออกเป็นสองสาย ตรงวัดจุฬามณี สายหนึ่งผ่านอำเภอบางบาล อีกสายหนึ่งตรงมายังกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า แม่น้ำบ้านป้อม เพราะเหตุนี้จึงมีการขุดคลองลัดเชื่อมระหว่างสองแม่น้ำที่แยกกันนั้น ตรงวัด ขนอนเหนืออยุธยาขึ้นไปเล็กน้อยทำให้เกิดเกาะรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ เรียกว่า เกาะมหาพราหมณ์ ณ ที่นี้เป็นที่มั่นสำคัญแห่งหนึ่งของอยุธยากษัตริย์อยุธยามักเสด็จหนีภัย จลาจลภายในเมืองมา ประทับอยู่เป็นการชั่วคราวเสมอ เมื่อปราบขบถราบคาบจึงเสด็จกลับ ชาวอยุธยาโบราณมักวาด มโนภาพพระนครศรีอยุธยาเปรียบกับเรือสำเภาใหญ่ ดังหนังสือแผนที่กรุงศรีอยุธยา แต่งโดยชาว อยุธยาเดิมมีใจความว่า กรุงศรีอยุธยาคือสำเภามีแม่น้ำล้อมรอบหัวสำเภาอยู่ทิศบูรพา เรียกว่า ขื่อเมือง ลำคูเมืองด้านหน้าจากหัวรอ ผ่านหน้าวังจันทรเกษมไปบรรจบแม่น้ำป่าสัก และไหล ไป บรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงวัด พนัญเชิง จึงเรียกว่าลำคูขื่อหน้า ท้ายสำเภาอยู่ทิศตะวันตกดังนี้ พระที่นั่งราชมณเทียรต่างๆ จึงหันหน้าไปสู่หัวสำเภาคือทิศตะวันออกทั้งสิ้น


แผนที่อยุธยา วาดโดยศิลปินชาวยุโรป


แม้วัดต่างๆ อันสถาปนา ขึ้นในสมัยอยุธยา ตอนต้นจะวางระเบียบ หันหน้า วัดสู่ทิศตะวันออกเช่นเดียวกัน เช่นวัดมหาธาตุ วัด ราชบูรณะ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพระ ราม และวัดพุทไธยสวรรค์ เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าวัดเก่าแก่ บนตัวเกาะอยุธยา ซึ่งเป็นวัดมีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา มิได้ถือระเบียบนี้ ดังเช่นวัดธรรมิกราช พระวิหาร ใหญ่เดิ
มคงหันไปทางทิศตะวันตกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ดัวยมีพระเจดีย์ใหญ่สิงห์ล้อม อยู่ท้ายวิหาร หันสู่ ทิศตะวันออก มาภายหลังสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เปลื่ยนพระวิหารหันสู่ ทิศตะวันออก จึงกลายเป็น พระ เจดีย์ใหญ่อยู่หน้าพระวิหารผิดหลัก สถาปัตยากรรมในยุคนั้น วัดโลกยสุธาอีกแห่งหนึ่ง พระวิหาร ใหญ่ ตั้งขวางตัวเกาะอยุธยา ด้วยเป็นวัดที่สร้างขึ้น ในสมัย อโยธยาตอนปลาย วัดราชประดิษฐ์ เป็นวัด เก่า แก่ที่มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา ใบเสมา เป็นรุ่นอโยธยาสมัยกลาง พระอุโบสถหันออกสู่ ทิศเหนือ คือ สายน้ำลพบุรีเดิม ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่า คูเมือง วัดหน้าพระเมรุ มีประวัติในพระราชพงศาวดารเหนือ ว่า สร้างก่อนกรุงศรีอยุธยาก็หันหน้าออกสู่สายน้ำลพบุรีเดิมทางด้านทิศใต้ วัดเหล่านี้เป็นวัดโบราณที่มีมา ก่อนกรุงศรีอยุธยา จึงไม่อยู่ในระบบแผนผังวัดของสมัยอยุธยาตอนต้น ล้วนนิยมสร้างพระปรางค์เป็น หลักของวัด เว้นแต่วัดพระศรีสรรเพชญ์วัดเดียว ซึ่งหันมานิยมฟื้นกลับเปรียบเป็นเจดีย์กลมแบบลังกา แต่ทรวดทรงก็ผิดกับสมัยอโยธยาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนวัดเก่าสมัยอโยธยา มักทำเจดียฺกลมแบบ ลังกา มีสิงห์ล้อม อันเป็นศิลปะการก่อสร้างสมัยอโยธยาตอนปลายหรือมิฉะนั้นก็จะเป็นเจดีย์แบบอ โยธยา ตอนต้น ซึ่งปรากฏเห็นได้ทั่วไปแถบนอกตัวเกาะอยุธยา เช่นวัดโคกช้าง วัดหน้าพระเมรุ วัดจงกลม วัดกระช้าย และวัดอโยธยา เป็นต้น



วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

ประวัติกรุงศรีอยุธยา



อยุธยาถือกำเนิดขึ้นมาจากการรวมตัวของแว่นแคว้นสุพรรณบุรีและลพบุรี พระเจ้าอู่ทองได้สถาปนาอยุธยาขึ้น เมื่อวันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๑๘๙๓ ( ค.ศ.๑๓๕๑) โดยตั้งขึ้นในเมืองเก่า "อโยธยา" ที่มีมาก่อน ในบริเวณที่เรียกว่าหนองโสน ซึ่งมีแม่น้ำ ๓ สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก มาบรรจบกัน แล้วตั้งนามพระนครนี้ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกบวรรัตนราชธานีบุรีรมย์" คนทั่วไปเรียกตัวเมืองอยุธยาว่า "เกาะเมือง" มีรูปลักษณะคล้ายเรือสำเภา โดยมีหัวเรืออยู่ทางด้านทิศตะวันออก ชาวต่างประเทศในสมัยนั้น กล่าวถึงกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นเวนิสตะวันออก เนื่องจากกรุงศรีอยุธยามี การขุดคูคลองเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับแม่น้ำใหญ่รอบเมือง จึงทำให้อยุธยามีสภาพเป็นเกาะมีแม่น้ำล้อมรอบ สาเหตุที่มาสร้างพระนครใหม่สันนิษฐานว่า เกิดจากการระบาดของอหิวาตกโรค เจ้านาย ขุนนาง และผู้คนเสียชีวิตกันไปมาก ในพระราชพงศาวดารระบุว่า "เมื่อสร้างพระนครใหม่แล้ว สมเด็จพระรามาธิบดีโปรดให้ขุดศพเจ้าแก้วเจ้าไทย ซึ่งเป็นอหิวาตกโรคสิ้นพระชนม์ ขึ้นมาพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดป่าแก้ว" กรุงศรีอยุธยามีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด ๓๓ พระองค์ จาก ๕ ราชวงศ์ ได้แก่ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณบุรี ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง ราชวงศ์บ้านพลูหลวง กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมาเป็นเวลา ๔๑๗ ปี เสียกรุงให้แก่พม่า ๒ ครั้งคือ ครั้งแรก ปี พ.ศ.๒๑๑๒ ในสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช (โอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเป็นเวลา ๑๕ ปี และเมื่อปี พ.ศ.๒๑๒๗ พระนเรศวรมหาราชทรงกู้เอกราชกลับคืนมา และเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาก็ อาณาจักรถึงกาลล่มสลาย

ลับดับราชวงศ์และการครองราชสมบัติ

พระมหากษัตริย์ที่ปกครองกรุงศรีอยุธยา

พระมหากษัตริย์ที่ปกครองกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลา 417 ปี มีทั้งหมด 33 พระองค์ แบ่งเป็น 5 ราชวงศ์ ดังนี้

1. ราชวงศ์เชียงราย 3 พระองค์

1) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (1913-1931) ลำดับที่ 1
2) สมเด็จพระราเมศวร (1912-1913) ลำดับที่ 2

(1931-1938)
3) สมเด็จพระรามราชาธิราช (1938-1952) ลำดับที่ 5

2. ราชวงศ์สุวรรณภูมิ 13 พระองค์

1) สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (1913-1931) ลำดับที่ 3
2) พระเจ้าลัน (1931- ) ลำดับที่ 4
3) สมเด็จพระนครอินทราธิราช (1952-1967) ลำดับที่ 6
4) สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (1967-1991) ลำดับที่ 7
5) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (1991-2031) ลำดับที่ 8
6) สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (2031-2034) ลำดับที่ 9
7) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (2034-2072) ลำดับที่ 10
8) สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 4 (2072-2076) ลำดับที่ 11
9) สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร (2076- ) ลำดับที่ 12
10) สมเด็จพระไชยราชาธิราช (2077-2090) ลำดับที่ 13
11) สมเด็จพระยอดฟ้า (2090-2091) ลำดับที่ 14
12) สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (2091-2106) ลำดับที่ 15

(2111-2112)
13) สมเด็จพระมหินทราธิราช (2106-2111) ลำดับที่ 16

(2112- )

3. ราชวงศ์พระร่วง 7 พระองค์

1) สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (2112-2133) ลำดับที่ 17
2) สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (2133-2148) ลำดับที่ 18
3) สมเด็จพระเอกาทศรถ (2149-2163) ลำดับที่ 19
4) สมเด็จเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ (2163- ) ลำดับที่ 20
5) สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (2163-2171) ลำดับที่ 21
6) สมเด็จพระเชษฐาธิราช (2171-2172) ลำดับที่ 22
7) สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (2172- ) ลำดับที่ 23

4. ราชวงศ์ปราสาททอง 4 พระองค์

1) สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (2172-2199) ลำดับที่ 24
2) สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (2199- ) ลำดับที่ 25
3) พระศรีสุธรรมราชา (2199- ) ลำดับที่ 26
4) สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (2199-2231) ลำดับที่ 27

5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

1) สมเด็จพระเพทราชา (2231-2246) ลำดับที่ 28
2) สมเด็จพระศรีสรรเพชญที่ 8 (2246-2252) ลำดับที่ 29
(สมเด็จพระเจ้าเสือ)

3) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (2252-2275) ลำดับที่ 30
4) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (2276-2301) ลำดับที่ 31
5) สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (2301- ) ลำดับที่ 32
6) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี่นั่งสุริยามรินทร์ (2301-2310) ลำดับที่ 33
(พระเจ้าเอกทัศน์)